ฉบับปรับปรุง วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแสรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- ผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มีประวัติไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5′ C ขึ้นไป ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก และ/หรือ และมีประวัติในช่วงเวลา 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วย อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- มีประวัติเดินทางไปยัง หรือ มาจาก หรือ อยู่อาศัยในประเทศ หรือ พื้นที่เกิดโรคในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
- สัมผัสกับผู้ป่วยยื่นยันโรค COVID-19
- ไปในสถานที่ชุมนุมชน หรือ สถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล หรือ ขนส่งสาธารณะ ที่มีพบผู้ป่วยสงสัย หรือ ยื่นยัน COVID-19 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
- ปฏิบัติงานในสถานกักกันโรค
- ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่แพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็น COVD-19
- เป็นบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในโรงพยาบาล คลินิก รพสต. สถานที่ตรวจห้องปฏิบัติการ ร้านขายยา หรือ ดื่มสอบสวนโรค หรือ ปฏิบัติงานในสถานกักกันโรด ที่มือาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก และ/หรือ มีประวัติไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5*C ขึ้นไป ที่แพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็น COVID-19
- พบผู้มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน ตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป ในสถานที่เดียวกัน ในช่วงสัปดาห์เดียวกันโดยมีความเสื่อมโยงกันทางระบาดวิทยา (เช่น กรณีโรงเรียน ในห้จงเรียนเดียวกัน เป็นต้น)