พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ

ประวัติ

เกิด เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2495
เสียชีวิต วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 อายุ 56 ปี

ประวัติการศึกษา

  • พ.ศ. 2525 ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2532ปริญญาการบริหารการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต สถาบันพัฒนาสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
  • พ.ศ. 2535 รักษาการนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีี
  • พ.ศ. 2536 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี
  • พ.ศ. 2537 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
  • พ.ศ. 2537 นายแพทย์ 9 ด้านเวชกรรมป้องกัน โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ และรักษาการ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
  • พ.ศ. 2538 ผู้ช่วยอธิบดีกรมการแพทย์ และผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
  • พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
  • พ.ศ. 2545 รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  • พ.ศ. 2549 สาธารณสุขนิเทศ เขต 8 และเขต 9

ผลงานเด่น

  • เป็นอาจารย์สวนสันนิบาตเสรีชน แห่งประเทศไทย ปี 2513
  • เป็นอาจารย์สอนอายุรเวทวิทยาลัยฯ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาหัตถเวช ให้กับนักศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2525-2535 และสามารถสืบทอดวิชาหัตถเวช จนเป็นที่แพร่หลายถึงปัจจุบัน
  • เป็นกรรมการโครงการนวดไทย
  • เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลศิริราช และร่วมทำสื่อการเรียนการสอน วิชาหัตถเวช กับ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

ผลงานเด่น

  1. จัดตั้ง “สถาบันการแพทย์แผนไทย” (Institute of Thai Traditional Medicine) ปี พ.ศ. 2532 จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย” สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น “สถาบันการแพทย์แผนไทย” สังกัดกรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การประสาน การสนับสนุน และความร่วมมือด้านการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุข
  2. การผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข โดยจัดทำโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาการแพทย์แผนไทย ปี พ.ศ. 2537 – 2544 ทำให้มีการนำการแพทย์แผนไทยเข้าไปใช้ในสถานบริการสาธารณสุข สังกัด กระทรวงสาธารณสุข
  3. การก่อสร้าง “อาคารพิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมค้นการแพทย์แผนไทย” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ตามหลักสถาปัตยกรรมไทย เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงองค์ความรู้ประวัติ วิวัฒนาการของแพทย์แผนไทย สวนสมุนไพร ถ้ำเขามอและลานออกกำลังกายฤาษีดัดตน เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า และใช้เป็นสถานทีฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทย
  4. การผลักดันด้านกฎหมายคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย “พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542” โดยเป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อให้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เช่น สมุนไพร สูตรยานำมาพัฒนา ส่งเสริม และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  5. การพัฒนาองค์ความรู้ สร้างอาชีพการนวดไทย ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจัดทำโครงการอบรมการนวดไทย เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ป พ.ศ. 2542 โดยพัฒนาทั้งความรู้ทางวิชาการ การฝึกอบรม ผลิตครูฝึกนวด ผู้นวด ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ต่อมาเป็นทรัพยากรที่สำคัญในอันที่จะวางรากฐาน และสืบทอดวิชาการนวดไทยให้แพร่หลายและมีมาตรฐานต่อไป
  6. การศึกษาวิจัย รวบรวมองค์ความรู้ ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร การต่อยอดภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและต่างประเทศ เช่น ประมวลทฤษฎีการแพทย์แผนไทย พระคัมภีร์สมุฏฐานวิจฉัย การฟัฒนาโปรแกรมวินิจฉัยตรวจสุขภาพแบบแพทย์แผนไทย (PEN DIAG) การพัฒนาตำราด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร เช่น หนังสือเส้นจุดและโรค หนังสือต้นไม้ตามทิศ หนังสือผักพื้นบ้าน หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการนวด
  7. จัดตั้ง “มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539 เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการแพทย์แผนไทยในทุกด้านทั้งภาครัฐและเอกชนสำหรับสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิ หน่วยงาน สมาคมและชมรมที่ดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทย สนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย ให้เป็นระบบครบวงจร
  8. การจัดตั้ง “กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก” เป็นบุคคลสำคัญร่วมดำเนินการผลักดันการจัดตั้งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 3 ตุลคม 2545 ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2545 แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ผู้บุกเบิกภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรในงานสาธารณสุขของไทย

ผลงานทางวิชาการ

  • พ.ศ. 2533 การส่งเสริมการใช้สมุนไพร ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
  • พ.ศ. 2534 ระยะเวลาการปลูกไพลที่เหมาะสมเพื่อการกลั่นไพล
  • พ.ศ. 2540 การศึกษาการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ
  • พ.ศ. 2546 การศึกษาและจัดทำโปรแกรมวินิจฉัย ตรวจสุขภาพแบบแพทย์แผนไทย หรือ โปรแกรม PEN DIAG

บทความวิชาการ

  1. นิตยสารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ (HERB FOR HEALTH) รายเดือน มี 1 คอลัมน์ คือ
    – ร้อยเรื่องเล่า
  2. หนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ รายสัปดาห์ มี 1 คอลัมน์ คือ
    – สุขภาพดีทั่วหน้า
  3. วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ รายเดือน มี 1 คอลัมน์ คือ
    – ภูมิปัญญาไทย
  4. ไทยโพสต์ รายสัปดาห์ มี 1 คอลัมน์ คือ
    – สาระสุขภาพแพทย์แผนไทย

เกียรติคุณที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2527 แพทย์ดีเด่นในโรงพยาบาลประจำอำเภอ จากสมาคมแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2529 แพทย์สตรีที่มีผลงานเด่นทางด้านสังคมชนบทจากสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2530 ศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2539 นักธุรกิจสตรีแห่งประเทศไทย ประจำ 2539 จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทยและหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ
  • พ.ศ. 2540 ศิษย์ดีเด่นคณะแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2541 ศิษย์เก่าดีเด่นคณะแพทย์ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2544 บุคคลดีเด่นด้านการแพทย์แผนไทย จากสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546 นักสุขศึกษาดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อสารมวลชน จากสมาคมสุขศึกษาแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2548 ศิษย์เก่าดีเด่น ประเภทบูรณาการทั่วไป สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2548 ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์