
ดูแลมารดาหลังคลอด
การดูแลมารดาหลังคลอด ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย หรือ เรียกว่า การอยู่ไฟ เมื่อหลังจากการคลอดบุตร จะทำให้ธาตุในร่างกาย ทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เกิดการเสียสมดุล โดยเฉพาะธาตุไฟ จะส่งผลให้มารดา ไม่สบายตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลียหรืออาจมีอาการคัดตึงเต้านมร่วมด้วย ซึ่งการดูแลมารดาหลังคลอด เป็นการฟื้นฟูสุขภาพมารดาจะช่วยให้ ร่างกายอบอุ่น ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ขับน้ำคาวปลา ลดอาการคัดตึงเต้านม ทำให้ธาตุทั้ง 4 ในร่างกายกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล
- ใช้ไฟเพื่อก่อให้เกิดความร้อนแก่ร่างกาย หรือบริเวณที่ต้องการรักษา
- โดยทั่วไปใช้กับมัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เช่น หน้าท้อง หน้าอก แผ่นหลัง
- หรือใช้เน้นรักษาเฉพาะจุด เช่น ข้อมือ หน้าเข่า หลังเข่า
** โดยมากใช้เผายาบริเวณหน้าท้อง (รอบสะดือ) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของเส้นประธานสิบไปตามร่างกาย
สามารถทำดูแลมารดาหลังคลอด ได้เมื่อใด
- มารดาคลอดธรรมชาติ(คลอดเอง) หลังจากคลอดแล้ว 7-10 วันสามารถทำได้เลย ถ้าไม่มีอาการอ่อนเพลียจากการคลอดบุตร และแผลบริเวณช่องคลอดแห้งสนิทดี
- มารดาผ่าตัดคลอด สามารถทำได้หลังจากการผ่าตัดคลอดแล้ว 30 – 45 วัน หรือ จนกว่าแผลผ่าตัดจะหายและแห้งสนิทดี
การอยู่ไฟจะได้ผลดี ต้องทำไม่เกิน3 เดือนหลังจากคลอดบุตร การทำหลังคลอดนิยมทำ 5-10 วันต่อเนื่อง