เผายา

การเผายาคือการนำสมุนไพรเช่น หัวไพล, ขิง, ช่า เป็นต้น มาตำรวมกัน แล้วนำไปวางบนท้องรอบสะดือแล้วใช้ผ้าเปียกทำเป็นวงกลมล้อมรอบ ใส่เกลือและน้ำมันสมุนไพรเล็กน้อย และใช้ผ้าอีกผืนคลุมทับอีกชั้นหนึ่งแล้วจุดไฟเผา (การเผายาสามารถทำบริเวณกล้ามเนื้อส่วนอื่นของร่างกายได้ด้วย เช่น กล้ามเนื้อบ่า หลัง ซา เป็นต้น)

ประโยชน์ของการเผายา คือ ใช้รักษาอาการท้องอึด ท้องเฟ้อ

  • ใช้ไฟเพื่อก่อให้เกิดความร้อนแก่ร่างกาย หรือบริเวณที่ต้องการรักษา
  • โดยทั่วไปใช้กับมัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เช่น หน้าท้อง หน้าอก แผ่นหลัง
  • หรือใช้เน้นรักษาเฉพาะจุด เช่น ข้อมือ หน้าเข่า หลังเข่า

** โดยมากใช้เผายาบริเวณหน้าท้อง (รอบสะดือ) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของเส้นประธานสิบไปตามร่างกาย

ตัวอย่างโรคที่ใช้หัตถการนี้

  • ท้องอืด แต่ไม่เฟ้อไม่เรอเปรี้ยว
  • ปวดหลัง ปวดเข่า
  • ลมถ่วงสะโพก
  • ปวดท้องน้อยประจำเดือน
  • ท้องผูก ไม่มีลมเบ่ง
  • ลมลงล่างหย่อน เหน็บชา ตะคริว
  • นอนกรนจากการมีเสลดในอุระเสมหะมากเกินไป

ขั้นตอนการทำหัตถการ

1. คลึงน้ำมันบริเวณหน้าท้องนวดโกยท้อง

2. นำผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดพันผ้าเป็นเสวียน

3. กั้นผ้าเป็นวงกลมกว้างประมาณ 1 คืบ

4. โรยเกลือพอประมาณ

5. โรยเครื่องยาเผา สูงประมาณ 1 องคุลี

6. โรยเกลือซ้ำอีกรอบ

7. ฉีดนํ้ามันนวด 

8. นำผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดคลุม

9. ใช้มือกดขอบผ้าให้เป็นวงที่ชัดเจน

10. เทแอลกอฮอล์ลงไปให้ทั่วบริเวณที่จะเผา

11. ท่องคาถาก่อนจุดไฟ 

12. เมื่อไฟดับ ใช้ผ้าคลุม

13. ย้ำยา

14. ซุยยา

15. โรยเกลืออีกรอ

16. ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาด (ทำซ้ำตามข้อ 8)

17. ทำเช่นนี้เรื่อยๆ *จำนวนรอบการเผายาขึ้นอยู่กับอาการคนไข้

ภาพเปรียบเทียบ

หัตถการเผายาก่นอ

ก่อนเผายา

หัตถการเผายาหลัง

หลังเผายา

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการเผายา

  • ผู้ไข้ที่มีกำเดาสูง
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่ในขณะนั้น (ไม่เกิน 140/90 mmHg ทำได้แต่ควรระวัง โดยใช้หัตถการอื่นเสริม)
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ควรระวัง เนื่องจากรับความรู้สึกได้ช้า
  • ผู้ที่ทนความร้อนไม่ได้
  • ผู้ที่แพ้แอลกอฮอล์
  • ผ้าควรชุบน้ำหมาด ๆ ทุกรอบ ไม้ควรใช้ผ้าแห้งจนเกินไป
  • ไม่ควรใส่แอลกอฮอล์มากเกินไป

ตัวอย่างการรักษา