การดูแลมารดาหลังคลอด ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย หรือ เรียกว่า การอยู่ไฟ เมื่อหลังจากการคลอดบุตร จะทำให้ธาตุในร่างกาย ทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เกิดการเสียสมดุล โดยเฉพาะธาตุไฟ จะส่งผลให้มารดา ไม่สบายตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลียหรืออาจมีอาการคัดตึงเต้านมร่วมด้วย ซึ่งการดูแลมารดาหลังคลอด เป็นการฟื้นฟูสุขภาพมารดาจะช่วยให้ ร่างกายอบอุ่น ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ขับน้ำคาวปลา ลดอาการคัดตึงเต้านม ทำให้ธาตุทั้ง 4 ในร่างกายกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล
** โดยมากใช้เผายาบริเวณหน้าท้อง (รอบสะดือ) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของเส้นประธานสิบไปตามร่างกาย
การอยู่ไฟจะได้ผลดี ต้องทำไม่เกิน3 เดือนหลังจากคลอดบุตร การทำหลังคลอดนิยมทำ 5-10 วันต่อเนื่อง
นอกจากการดูแลมารดาหลังคลอดตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว มารดาควรจะ รับประทานอาหารที่มีรสร้อน เพื่อช่วยบำรุงธาตุไฟ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด เช่น ขิง พริกไทย กะเพรา ขมิ้นชัน เป็นต้น รับประทานอาหารบำรุงน้ำนม เช่น แกงเลียงหัวปลี ไก่ผัดขิง หลีกลี่ยงอาหารรสเย็น เช่น ฟัก แตงโม น้ำแข็ง เพราะอาหารรสเย็นจะไปลดธาตุไฟในร่างกาย ควรดื่มน้ำอุ่น 2-3 ลิตร/วัน และที่สำคัญพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล
อ้างอิง
บทความวิชาการ “การอยู่ไฟคืออะไร” : สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
จัดทำโดย นางสาว สุนันทา แหล่งสะท้าน : แพทย์แผนไทยประยุกต์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล