กักน้ำมัน

หลักการ

น้ำมัน + ความร้อน

กลุ่มอาการที่ใช้รักษา

มักใช้กับกล้ามเนื้อที่ตึงมาก ๆ หรือเจ็บง่าย เช่น รองช้ำ หัวไหล่ติด ลมเสียดสะโพก ลมจับโปงแห้งเข่า หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอาการอักเสบเนื่องจากเป็นหัตถการที่ร้อน

ข้อควรระวัง

  1. ผู้ไข้ที่มีกำเดาสูง
  2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในขณะนั้น
  3. ผู้ไข้ที่เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
  4. ผู้ไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  5. ผู้ไข้ที่ทนความร้อนไม่ได้
  6. บริเวณผิวหนังอ่อน มีแผลเปิด หรือมีการอักเสบ

ขั้นตอนการทำหัตถการ

1. วางแผ่นสำลีบริเวณที่จะทำหัตถการ

2. สเปรย์นํ้ามันลงไปที่สำลี เว้นขอบเล็กน้อย

3. สเปรย์น้ำมันให้ชุ่ม

4. เป่าด้วยเครื่องเป่าลมร้อน

5. ยกสำลีขึ้นเพื่อพักไม่ให้ร้อนเกินไป

6. กลับด้านสำลีและเป่าลมร้อนอีกครั้ง

ทำข้อ 1-6 ซ้ำ ประมาณ 60 นาที คลำความร้อนและกล้ามเนื้อผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ใหผู้้ป่วยร้อนเกินไป และประเมินการคลายตัวของกล้ามเนื้อ

ข้อควรระวังขณะทำหัตถการ

  1. ระยะห่างระหว่างเครื่องเป่าลมร้อนกับผิวผู้ป่วย
  2. ระดับความร้อนของเครื่องเป่าลมร้อน

** หากผู้ป่วยทนความร้อนไม่ไหวให้ยกสำลีออก พยายามไม่เคลื่อนไหว เพื่อป้องกันน้ำมันไหลไปสัมผัสบริเวณอื่น